คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ได้ยินกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการนำมาใช้เป็นนโยบาย Soft Power ของพรรคการเมือง ไทยรัฐออนไลน์พาเปิดความหมาย Soft Power คืออะไร พร้อมยกตัวอย่างของไทยมีอะไรบ้าง
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ถูกหยิบยกมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงใช้ในบริบททางการเมือง การแสดง และอื่นๆ โดยซอฟต์พาวเวอร์ เป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นโดยศาสตราจารย์ โจเซฟ ไนย์ (Joseph S. Nye) อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนจะเขียนหนังสือ Soft Power the Means to Success in World Politics จำหน่ายในปี 2004
การใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม การกิน การดื่ม วิถีชีวิต หรือความเชื่อ นำเสนอผ่านสื่อ หรือผลงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อโน้มน้าวใจ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้กันมากขึ้น
เช่น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ ได้ใช้คำว่า “อำนาจละมุน” แทน หรือ สว.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ ก็ได้มีการเสนอให้ใช้คำว่า “ภูมิพลังวัฒนธรรม” ในการประชุมวุฒิสภา วันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่มีการระบุคำที่ใช้แทนอย่างแน่ชัด ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้คำทับศัพท์
เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีการนำคำศัพท์ดังกล่าวไปใช้กันเป็นวงกว้าง โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้สนับสนุน Soft Power ของไทย ตามแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรม 5 รูปแบบ เรียกว่า “5F” ดังนี้
กระบวนการสร้าง Soft Power จะต้องอาศัยการร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย เช่น หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน รวมไปถึงประชาชน เพื่อสร้างคุณค่าของวัฒนธรรม ผลักดัน และสนับสนุนให้ Soft Power ของไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก
ซอฟต์พาวเวอร์ คือ นโยบายและโครงการใหม่ที่ไทยเน้นนำเสนอ ผลักดันมากขึ้น ตัวอย่าง Soft Power ไทยหลายรูปแบบ เช่น อาหารและเครื่องดื่มของไทย ดังจะเห็นได้จากการแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินสาว MILLI บนเวที Coachella ที่เจ้าตัวร้องเพลงและกินข้าวเหนียวมะม่วงระหว่างทำการแสดง จนทำให้ยอดขายข้าวเหนียวมะม่วงพุ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมี "มวยไทย" หนึ่งในศิลปะการต่อสู้ดั้งเดิมของไทย มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สืบทอดมาช้านาน หรือแม้กระทั่งละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ไทย นำเสนอเรื่องราวหรือวิถีชีวิตแบบไทยสอดแทรกผ่านเนื้อเรื่องและตัวละคร จนได้รับความนิยม และเป็นที่รู้จักแพร่หลายในต่างประเทศ
Soft Power ถือเป็นคำศัพท์ที่ได้ยินหรือเห็นบ่อยครั้ง หลังจากที่ได้รู้ความหมายและคำนิยามว่าซอฟต์พาวเวอร์คืออะไรแล้ว ก็สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้องและเหมาะสมกันมากขึ้น